ข้ามไปเนื้อหา

อี. เอ็ม. เอส. นัมพูทรีปาท

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อี. เอ็ม. เอส. นัมพูทรีปาท
มุขยมนตรีรัฐเกรละคนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
6 มีนาคม 1967 – 1 พฤศจิกายน 1969
ผู้ว่าการภควัน สหาย
วี. วิศวนาถัน
ก่อนหน้าประธานาธิบดี
ถัดไปซี. อจุฐา เมโนย
ดำรงตำแหน่ง
5 เมษายน 1957 – 31 กรกฎาคม 1959
ผู้ว่าการพุรคุลา รามกฤษณะ ราว
ก่อนหน้าประเดิมตำแหน่ง
ถัดไปปัตตม ฐานุ ปิลไล
ประธานพรรคคอมมิวนิสต์อินเดีย
ดำรงตำแหน่ง
29 เมษายน 1962 – 11 เมษายน 1964
ก่อนหน้าอโชย โฆษ
ถัดไปจันทระ ราเชศวร ราว
ประธานพรรคคอมมิวนิสต์อินเดีย (มาร์กซิสต์)
ดำรงตำแหน่ง
8 เมษายน 1978 – 9 มกราคม 1992
ก่อนหน้าพี. สุนทรยยา
ถัดไปหรกฤษัน สิงห์ สุรชีต
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด13 มิถุนายน ค.ศ. 1909(1909-06-13)
เปรินตัลมันนะ, รัฐมัทราส, บริติชอินเดีย (ปัจจุบันอยู่ในอำเภอมลัปปุรัม รัฐเกรละ ประเทศอินเดีย)
เสียชีวิต19 มีนาคม ค.ศ. 1998(1998-03-19) (88 ปี)
ติรุวนันตปุรัม รัฐเกรละ ประเทศอินเดีย
พรรคการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์อินเดีย (มาร์กซิสต์) (ตั้งแต่ 1964),
พรรคคอมมิวนิสต์อินเดีย (ก่อน 1964),
คู่สมรสอารยะ อานธรชนัม (1937–1998)[1]
บุตร4[2]
ที่อยู่อาศัยติรุวนันตปุรัม
ศิษย์เก่าวิทยาลัยเซนต์ธอมัส ติสสูร
เว็บไซต์Government of Kerala

เอลมกุลัม มนักกัล ศังกรัน นัมพูทรีปาท (อักษรโรมัน: Elamkulam Manakkal Sankaran Namboodiripad, 13 มิถุนายน 1909 – 19 มีนาคม 1998) หรือรู้จักกันทั่วไปว่า อีเอ็มเอส (EMS) เป็นนักการเมืองและนักทฤษฎีคอมมิวนิสต์ชาวอินเดีย มุขยมนตรีรัฐเกรละคนที่หนึ่งจากปี 1957–1959 และอีกวาระในปี 1967–1969 ขณะเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์อินเดีย (CPI) เขาเป็นมุขยมนตรีประจำรัฐคนแรกของอินเดียที่ไม่ได้มาจากพรรคคองเกรส ในปี 1964 เขาได้รวมตัวสมาชิกจำนวนหนึ่งแยกตัวออกจากพรรค CPI เพื่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์อินเดีย (มาร์กซิสต์) (CPI(M))

ขณะเป็นมุขยมนตรี เขาเป็นผู้ริเริ่มการปฏิรูปครั้งรุนแรงด้านการศึกษาและที่ดินในรัฐเกรละ ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักในชื่อเกรละโมเดล และถูกนำมาใช้เป็นมาตรฐานการพัฒนาของรัฐอื่น ๆ ในประเทศ เขาและพรรคคอมมิวนิสต์ (มาร์กซิสต์) ที่เขาตั้งขึ้นนั้นถือว่ามีส่วนอย่างมากในการพัฒนาการเมืองของอินเดียสู่ระบบที่ใช้การร่วมมือกันระหว่างพรรคการเมืองต่าง ๆ[3]

ในปี 1992 เขาปฏิเสธการรับปัทมาภูษาณ เครื่องอิสริยาภรณ์ของรัฐบาลอินเดียระดับสูงสุดสำหรับพลเมือง เนื่องจากเขายึดมั่นในการปฏิเสธการยกย่องจากรัฐ[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "EMS' wife passes away". The Times of India. สืบค้นเมื่อ 21 February 2019.
  2. "E.M. Sreedharan dead". The Hindu. 15 November 2002. สืบค้นเมื่อ 6 June 2018.[ลิงก์เสีย]
  3. Singh, Kuldip (1 April 1998). "Obituary: E. M. S. Namboodiripad". The Independent. สืบค้นเมื่อ 20 May 2018.
  4. Guha, Ramachandra (2001). An Anthropologist Among the Marxists and Other Essays. Permanent Black. p. 211. ISBN 81-7824-001-7.